ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง
ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี
การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง
(liquidity) ในการดำเนินงาน
เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน
อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม
โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ
ดังต่อไปนี้
1. การพยากรณ์ (forecast)
การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก
และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์
การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2. การจัดการด้านการเงิน (financial
management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ
โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
3. การควบคุมทางการเงิน (financial
control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ
และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่
ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ
โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
การควบคุมภายใน (internal control)
การควบคุมภายใน (internal control)
การควบคุมภายนอก (external control)
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ
ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน
เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins
data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ
ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting
data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น
การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด
โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์
โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้
และการตัดสินใจลงทุน
3. กลยุทธ์องค์การ (corporate
strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์
แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์
4. ข้อมูลจากภายนอก (external
data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง
และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน
เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน
โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ
เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน
1.1 การคาดการณ์ทางการเงิน แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการ แหล่งที่มาการใช้จ่าย ตัวอย่างการใช้แบบจำลองกระแสเงินสด
1.2 การจัดการเงินทุน แหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการ สามารถใช้แบบจำลองทางเลือกต่าง ๆ สำหรับบริหารเงิน
1.3 การตรวจสอบ (auditing)
- เป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือแนวทางที่กำหนด
- การตรวจสอบภายใน (internal audit) การเงิน การปฏิบัติการ
- การตรวจสอบภายนอก (external audit) โดยผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ
ผลการตรวจสอบทางการเงิน จะได้ งบรายได้ งบกำไรขาดทุน งบดุล
2. แหล่งสารสนเทศทางการเงิน
2.1 ข้อมูลประมวลผลธุรกรรม
2.2 ข้อมูลการคาดการณ์ภายใน จากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ยอดขาย รายได้
2.3 ข้อมูลเงินทุน (funding data) แหล่งเงินทุน เงื่อนไข การปันผล การจ่ายดอกเบี้ย
2.4 ข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ (portfolio data) หลักทรัพย์ที่กิจการถือ ราคาตลาดหลักทรัพย์
2.5 ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของรัฐบาล เช่น การลดค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย
2.6 ข้อมูลสภาวะภายนอก เช่น ราคาหุ้น อัตราดอกเบี้ย ทิศทางของกิจการ
2.7 แผนกลยุทธ์ การกำหนดแผนการเงินจะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของกิจการ
3. ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการเงิน
3.1 การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ (cash/credit/investment management)
- ข้อมูลเงินสดรับและออก
- ใช้สำหรับการลงทุนกับเงินทุนส่วนเกิน
- มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การเก็บเงินสด software
3.2 งบประมาณการลงทุน (capital budgeting)
- การวิเคราะห์ การลงทุนโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ ความเสี่ยง
3.3 การวางแผนการเงิน (financial planning)
- ประเมินสมรรถนะทางการเงินของธุรกิจ ในปัจจุบันและที่คาดการณ์
- วิเคราะห์ทางเลือกทางการเงินของกิจการ
รูปที่ 1 ตัวอย่างของความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศด้านการเงิน
4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงินมีความสามารถการทำงานดังต่อไปนี้
1. รวบรวมสารสนเทศด้านการเงินและการดำเนินงานจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพียงระบบเดียว
2. สนับสนุนผู้ใช้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านการเงินและผู้ใช้อื่น ๆ ของบริษัท ให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและสารสนเทศทางด้านการเงินผ่านทางเครือข่ายในองค์กรได้ง่าย
3. เตรียมข้อมูลด้านการเงินที่มีอยู่ให้พร้อมต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินได้หลายมิติ เช่น วิเคราะห์ตามช่วงเวลา, ภูมิประเทศ, ผลิตภัณฑ์, โรงงานผลิต หรือลูกค้าได้
5. วิเคราะห์การดำเนินงานด้านการเงินที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้
6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนได้ตลอดเวลา
1. รวบรวมสารสนเทศด้านการเงินและการดำเนินงานจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพียงระบบเดียว
2. สนับสนุนผู้ใช้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านการเงินและผู้ใช้อื่น ๆ ของบริษัท ให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและสารสนเทศทางด้านการเงินผ่านทางเครือข่ายในองค์กรได้ง่าย
3. เตรียมข้อมูลด้านการเงินที่มีอยู่ให้พร้อมต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินได้หลายมิติ เช่น วิเคราะห์ตามช่วงเวลา, ภูมิประเทศ, ผลิตภัณฑ์, โรงงานผลิต หรือลูกค้าได้
5. วิเคราะห์การดำเนินงานด้านการเงินที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้
6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนได้ตลอดเวลา
เป้าหมายทางการเงิน
1. กำไรสูงสุด
เน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด
ซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
2. ความมั่งคั่งสูงสุด หากธุรกิจใดมีการปรับปรุงกำไรสูงสุดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย
การตัดสินใจทางการเงิน
1. การตัดสินใจด้านการลงทุน
เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุด
โดยเริ่มต้นจาการกำหนดทรัพย์สินที่บริษัทจำเป็นต้องใช้
และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งจะบ่งบอกถึงขนาดของบริษัท
2. การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการจัดหาไว้ภายในกิจการ
2. แหล่งเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
3. สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
4. ประเภทของการจัดหาเงินทุน 2 ประเภท คือ การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือการออกหลักทรัพย์ประเภททุนเพื่อจำหน่าย
3. การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล
เป็นการตัดสินใจถึงจำนวนเงินที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยมีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นที่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดกำไรสะสมที่บริษัทยังคงอยู่หลังจากจ่ายเงินปันผลเสร็จสิ้นแล้ว
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมโดยมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งต่างๆ
ตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1.1 ระบบพยากรณ์ทางการเงิน คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน
โดยจำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอก
1.2 ระบบงบประมาณเงินสด คือ
ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินในลำดับต่อไป
1.3 งบประมารลงทุน
คือระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งคือการใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ
2. ระบบจัดการทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านประกอบกันเพื่อการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินทุน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ระบบย่อย
ดังนี้
2.1 ระบบจัดหาเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการจัดหาเงินทุน
ตามแผนการจัดหาเงินทุนที่เป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์ทางการเงิน
2.2 ระบบจัดการเงินทุน คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการใช้และบริหารเงินทุน
หลังจากที่องค์การจัดหาเงินทุนนั้นๆ เข้ากิจการเรียบร้อยแล้ว
2.3 ระบบจัดการเงินลงทุน คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดการเงินลงทุนหลังจากที่มีการวางแผนงบประมาณลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว
ก็จะต้องดำเนินการจัดการเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 ระบบจัดการเงินสด คือ
ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้ในงานด้านการจัดสรรเงินทุนในส่วนของสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน
โดยมุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในรูปแบบเงินสด
3. ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงินโดยเฉพาะในส่วนของการรับและจ่ายเงินสดภายในธุรกิจทั้งด้านของการจัดหาสินทรัพย์
การลงทุนและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่างๆ
4. ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน
คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน
การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. ระบบควบคุมทางการเงิน จำแนกไดเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
5.1 การควบคุมงบประมาณ
งบประมาณที่ถูกวางแผนไว้แต่เริ่มแรกมักจะอยู่ในรูปแบบงบประมาณรายปี
5.2 การตรวจสอบมีวัตถุประสงค์ คือ
เพื่อให้แน่ใจได้ว่าฐานะทางการเงินของธุรกิจซึ่งนำเสนอในงบการเงินมีความถูกต้อง
5.3 การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
ในปัจจุบันธุรกิจมักบูรณาการวิธีต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ของการบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจซึ่งเป็นเทคนิคสมัยใหม่ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการควบคุมทางการเงิน
เทคโนโลยีทางการเงิน
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน
คือ
ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน
ในบางครั้งอาจรวมอยู่กับโปรแกรมระบบอื่น
2. ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซ ตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซมีดังนี้
2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ
2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์
2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์
2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงินและการชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์
3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
3.1 บัตรเครดิต คือ
การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ใช้จะต้องจัดทำบัตรเครดิตกับองค์การหรือสถาบันทางการเงินภายในวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
3.2 บัตรเดบิต คือ
การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ คือ
บริการของธนาคารประเภทหนึ่งที่เริ่มจากให้ผู้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์
อีกทั้งมอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์และนำเช็คไปเข้าบัญชีของผู้ขาย
3.4 เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า
เป็นระบบที่อาจนำมาใช้แทนที่ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสามารถแปลสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ในทันทีที่เช็คครบตามกำหนดจ่ายเงิน
และไม่จำเป็นต้องมีการลงนามผู้สั่งจ่ายเงินเหมือนเช็คทั่วไป
3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกบริการหนึ่งของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จะทำการใส่วงเงินเข้าสู่กระเป๋าสตังค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า
3.6 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
นับเป็นวิธีให้บริการโอนเงินแบบดั้งเดิมของธนาคารผ่านสำนักหักบัญชีอัตโนมัติ
หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร โดยธนาคารของผู้ซื้อจะทำการโอนเงินเข้าสู่บัญชีผู้ขายผ่านธนาคารของผู้ขายอัตโนมัติ
3.7 ระบบธนาคารศูนย์กลาง มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่ลายแห่งทั่วประเทศ
และยังมีการจัดตั้งสำนักงานที่เป็นศูนย์เก็บเงินประจำภูมิภาคเพื่อรับชำระเงินจากลูกค้าในพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถนำเช็คไปขึ้นเงินกับสาขาของธนาคารในท้องถิ่นนั้นๆ
4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
4.1 ระบบการเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ
4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ หรือ
โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจที่เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะ
4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน คือ
พื้นทีอีกด้านนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงิน
ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการโดยมีการวิเคราะห์ในทุกๆหน้าที่งานด้านการเงินรวมทั้งหน้าที่ด้านการค้าเงินระหว่างประเทศ
ส่วนที่นำเข้าไปในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน
ได้แก่
1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ในแผนกลยุทธ์จะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ด้านการเงินของบริษัท เช่น เป้าหมายของผลกำไรที่ต้องการ, อัตราส่วนของหนี้สินและเงินกู้, ค่าคาดหวังของผลตอบแทนที่ต้องการ เป็นต้น
2. ระบบประมวลผลรายการ สารสนเทศด้านการเงินที่สำคัญจะมาจากโปรแกรมการประมวลผลรายการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเงินเดือน, โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง, โปรแกรมสั่งซื้อสินค้า, โปรแกรมบัญชีรายรับ-รายจ่าย, และโปรแกรมใบสั่งซื้อ ทั่วไป โดยข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนรวม, เงินลงทุนในคลังสินค้า, ยอดขายรวม, ปริมาณเงินที่จ่ายให้กับแหล่งผลิตสินค้า, ปริมาณหนี้รวมของลูกค้าที่มีต่อบริษัทและรายละเอียดข้อมูลบัญชีต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็น รายงานด้านการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับคู่แข่งขัน อาจได้มาจากรายงานประจำปีของบริษัทคู่แข่ง, หนังสือพิมพ์, สื่อต่าง ๆ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลก เช่น สภาวะเงินเฟ้อ, อัตราภาษี เหล่านี้เป็นต้น
1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ในแผนกลยุทธ์จะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ด้านการเงินของบริษัท เช่น เป้าหมายของผลกำไรที่ต้องการ, อัตราส่วนของหนี้สินและเงินกู้, ค่าคาดหวังของผลตอบแทนที่ต้องการ เป็นต้น
2. ระบบประมวลผลรายการ สารสนเทศด้านการเงินที่สำคัญจะมาจากโปรแกรมการประมวลผลรายการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเงินเดือน, โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง, โปรแกรมสั่งซื้อสินค้า, โปรแกรมบัญชีรายรับ-รายจ่าย, และโปรแกรมใบสั่งซื้อ ทั่วไป โดยข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนรวม, เงินลงทุนในคลังสินค้า, ยอดขายรวม, ปริมาณเงินที่จ่ายให้กับแหล่งผลิตสินค้า, ปริมาณหนี้รวมของลูกค้าที่มีต่อบริษัทและรายละเอียดข้อมูลบัญชีต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็น รายงานด้านการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป
3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับคู่แข่งขัน อาจได้มาจากรายงานประจำปีของบริษัทคู่แข่ง, หนังสือพิมพ์, สื่อต่าง ๆ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลก เช่น สภาวะเงินเฟ้อ, อัตราภาษี เหล่านี้เป็นต้น
ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน
ระบบย่อยในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ขึ้นอยู่กับองค์กรและความต้องการขององค์กรนั้น โดยอาจประกอบด้วยระบบภายในและระบบภายนอกที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลทางธุรกิจของบริษัท เช่น ระบบการจัดหา, การใช้, และการควบคุมเงินสด, ระบบเงินทุนและแหล่งการเงินอื่น ๆ และอาจจะประกอบด้วย ระบบย่อยในการหากำไร/ขาดทุน, ระบบบัญชีค่าใช้จ่ายและระบบการตรวจสอบ โดยระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะทำงานประสานกับระบบประมวลผลรายการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้จัดการด้านการเงินสามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่ รายงานด้านการเงินต่าง ๆ เช่น รายงานกำไร/ขาดทุน, รายงานระบบค่าใช้จ่าย, รายงานการตรวจสอบภายในและภายนอกและรายงานการใช้และการจัดการเงินทุน เป็นต้น